|
|
|
ในพื้นที่หมู่บ้านอาศัยการเดินทางด้วยเท้าเป็นหลัก การขนส่งต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบากส่งผลกับการพัฒนาด้านการเมืองสภาพสังคมและเศรษฐกิจ
ของราษฎรเป็นไปอย่างเชื่องช้าสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาจึงยากจนและขาดแคลน จึงมีการสร้างทางลำลองเข้าไปในพื้นที่หมู่บ้านหลักที่สำคัญกระจาย
ไปตามพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้านเพื่อให้มีการติดต่อระหว่างหมู่บ้านต่างๆ และการส่งผลผลิตออกสู่ตลาดแต่ไม่สามารถดำเนินได้ทั่วถึงทุกหมู่บ้านเพราะพื้นที่อยู่ใน
เขตป่าสงวนแห่งชาติเส้นทางหลักที่ใช้คมนาคมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่หละคือทางหมายเลข 105 สายแม่สอด–แม่สะเรียง |
|
|
|
|
แหล่งน้ำธรรมชาติ |
|
 |
ลำน้ำ, ลำห้วย |
จำนวน |
3 |
แห่ง |
|
 |
บึง, หนอง |
จำนวน |
2 |
แห่ง |
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น |
|
 |
ฝาย |
จำนวน |
8 |
แห่ง |
|
 |
บ่อน้ำตื้น |
จำนวน |
51 |
แห่ง |
|
 |
สระน้ำ |
จำนวน |
26 |
แห่ง |
|
 |
บ่อบาดาล |
จำนวน |
8 |
แห่ง |
|
 |
ประปาหมู่บ้าน |
จำนวน |
3 |
แห่ง |
|
 |
ประปาภูเขา |
จำนวน |
11 |
แห่ง |
|
 |
ประปาหมู่บ้าน (แบบผิวดินขนาดใหญ่) |
จำนวน |
2 |
แห่ง |
|
|
|
|
ทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลแม่หละอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยางทำให้ราษฎรไม่สามารถมีเอกสารสิทธิในที่ดินได้ ทำให้มีการใช้ประโยชน์น้อยมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทรายดินร่วนอยู่บริเวณสองข้างฝั่งลำห้วย ซึ่งเป็นที่ราบในบริเวณหุบเขาจะพบว่าเป็นดินลูกรังหรือหินก้อนใหญ่ |
ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำเมย ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเมียนมาร์ไหลผ่านยาวประมาณ 60 กิโลเมตร่ |
ทรัพยากรป่าไม้ตำบลแม่หละมีพื้นที่ป่าไม้ตามภูเขาและที่สูง ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง เป็นป่าประเภท ป่าสน ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง ไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นพวก ไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็งและไม้กระยาเลย สัตว์ป่าที่พบ เช่น เก้ง กวาง หมูป่า ลิง เลียงผา แต่ไม่เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ของป่าที่พบเช่น น้ำผึ้ง หน่อไม้ เปลือกไม้ แร่ธาตุ มีพบเห็นบ้างแต่ไม่มากนัก |
|
|